Categories
News

กระชายพลัส: ฝุ่น PM 2.5 มลพิษทางอากาศ

กระชายพลัส: ฝุ่น PM 2.5 มลพิษทางอากาศ ตื่นเช้าขึ้นมาพบว่า โอ้!! อากาศประเทศไทยเย็นแล้วเหรอนี่ หมอกหนาเต็มไปหมดเลย… อย่าหลงเข้าใจผิดเด็ดขาดนะทุกคน บางทีอาจจะคือฝุ่น PM 2.5 มลพิษทางอากาศ มักจะเกิดช่วงหน้าหนาว หลายคนเข้าใจผิดเพราะว่าคล้ายกันจนแยกแทบไม่ออก แต่ที่น่ากลัวกว่าหมอกคือ ฝุ่น PM 2.5 เล็กแต่ร้ายภัยเงียบที่มาโดยไม่รู้ตัว อันตรายถึงชีวิตได้!!

หมอก และ ฝุ่น PM 2.5 แตกต่างกันยังไง

หมอก (Fog) เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำจนกลายเป็นละอองน้ำกระจายอยู่ระดับใกล้พื้นผิวโลก หมอกทุกชนิดเกิดเมื่ออุณหภูมิอากาศมีค่าเท่ากับอุณหภูมิจุดน้ำค้าง ทำให้อากาศเกิดการอิ่มตัว (saturate) แล้วกลั่นตัว (condense) เป็นละอองน้ำเล็กๆ หมอกจึงเกิดขึ้นจากความเย็นของพื้นผิว หรือการเพิ่มปริมาณไอน้ำในอากาศ หมอกสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ หมอกน้ำค้าง (Mist) , หมอกน้ำแข็ง (Ice fog) , หมอกทะเล (Sea fog) , หมอกไอน้ำ (Steam fog) , หมอกมรสุม (Monsoon fog) ฯลฯ

ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากการเผาไหม้ จากกระบวนการอุตสาหกรรม จากยานพาหนะ จากการเผาทางการเกษตร จากการเผาไฟป่า จากการก่อสร้าง จากการเผาขยะสิ่งปฏิกูลต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมการกระทำของคนทั้งสิ้นที่ทำให้เกิดขึ้น ถือเป็นมลภาวะเป็นพิษทางอากาศที่ทำให้เกิดอันตรายมากที่สุด

ความแตกต่างของหมอกและฝุ่น PM 2.5 ที่ชัดเจนก็คือ เมื่อร่างกายสัมผัส หมอกจะทำให้รู้สึกเย็น มีละอองน้ำเล็กๆ หรือเป็นหยดน้ำ ถ้าบริเวณนั้นมีหมอกหนามากๆ แต่สำหรับฝุ่น เมื่อมีการหายใจเข้าไปจะทำให้รู้สึกหายใจติดขัด จาม ไอ คันคอ กระหายน้ำ บางคนมีผื่นคัน แดงตามผิวหนังได้

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร

ฝุ่น PM2.5 หรือชื่อเต็มคือ Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron ฝุ่นละอองในอากาศที่มีอนุภาคขนาดเล็กมากๆ ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือไมโครเมตร PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วด้วยขนาดเล็กมากๆที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ จะล่องลอยอยู่ในอากาศ ฝุ่นจะลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานกว่าจะสลายหายไป มักจะอยู่ในรูปแบบ ละอองจากของเหลว เขม่าควัน ฝุ่นควัน

ฝุ่น PM 2.5 เยอะช่วงไหน

ฝุ่น PM 2.5 จะเริ่มเกิดช่วงหน้าหนาว ไปจนถึงช่วงเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูหนาวไปสู่ฤดูร้อน เป็นช่วงปลายปีของทุกปีที่จะมีฝุ่น PM 2.5 หนาแน่นในช่วงนี้ เนื่องจากความกดอากาศสูง มวลอากาศเย็นแผ่กระจายไปทั่วพื้นดินด้วย จนทำให้ไม่มีช่องว่างให้ฝุ่นที่มีอยู่ในอากาศลอยผ่านไปได้ เมื่อฝุ่นไม่สามารถไหลไปที่อื่นได้ก็จะย้อนกลับลงมาที่พื้นดินอีก เป็นที่มาของช่วงหน้าหนาวที่ฝุ่นจะเยอะเป็นพิเศษ

เครื่องมือวัดฝุ่นและค่าเฝ้าระวัง PM 2.5

เป็นเครื่องวัดฝุ่นละอองที่ลอยในอากาศ Particle Counter แต่ก่อนที่จะหาเครื่องมือเพื่อมาวัดฝุ่นละอองและสารมลพิษทางอากาศต่างๆนั้น ควรต้องรู้ก่อนว่า การวัดค่าคุณภาพอากาศนั้นต้องดูจากอะไร และค่าแบบไหนที่เป็นมาตรฐานและปลอดภัยต่อร่างกาย

โดยค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีของประเทศไทยอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนองค์การอนามัยโลกแนะนำเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของประเทศไทยอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลกอยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

โดยใช้เครื่องมือ AQI (Air Quality Index) คือ ข้อมูลการวัดคุณภาพอากาศในภาพรวมที่ประกอบด้วยสารมลพิษทางอากาศทั้ง 6 ชนิด การวัดค่า AQI และ PM2.5 จะโชว์ตัวเลขและสีในการแบ่งระดับการเตือนภัย เพื่อให้ประชาชนรับรู้ทราบระดับความรุนแรงและของความเสี่ยงต่อสุขภาพนั่นเอง

ฝุ่นหนาดูแลสุขภาพยังไง

ในแต่ละวันที่ร่างกายต้องออกไปเจอกับฝุ่น สูดดมสารมลพิษทางอากาศต่างๆ สิ่งที่ทุกคนต้องเตรียมคือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ หลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง

รวมทั้งการหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรืออาหารเสริมเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ที่ต้องการเสริมภูมิต้านทานโรคต่างๆ ไม่ต้องรอให้ป่วยแล้วจึงหาทางรักษา แต่เราสามารถรับประทานได้เพื่อเป็นเกราะป้องกันโรคได้เลย